วัฒนธรมมของประเทศ


วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของสิงคโปร์          ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม  ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ  ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น
          เทศกาลสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา    เริ่มตั้งแต่

          -  เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ  โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน  แต่บางแห่งอาจหยุดนานถึง 15 วัน  โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไซน่าทาวน์   มีทั้งขบวนแห่งมังกร  การแสดงดอกไม้ไฟ  และการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ
             ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน  คือ  คืนก่อนวันตรุษจีน  แต่ละครอบครัวจะกลับมากินข้าวเย็นกันพร้อมหน้าพร้อมตา  เมื่อทานกันอิ่มแล้ว  พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะมีการแจกเงิน (อั่งเปา)  ให้ลูกหลานที่ยังไม่ได้แต่งงาน  เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่   คล้ายกับคนไทยเชื้อสายจีน




 -   เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน   จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน 



-  เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

 -  เทศกาล Hari Raya Puasa   เป็นเทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายมุสลิม  จัดขึ้นในเดือนตุลาคม (เดือน 10)  ของทุกปีตามปฏิทินอิสลาม  โดยที่ช่วงเช้าชาวมุสลิมจะพร้อมใจกันเข้าสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา   จากนั้นก็เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ถนนเกย์แลง  ศูนย์รวมชาวมุสลิมในสิงคโปร์หลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan) 

 -  เทศกาล Deepavali   ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์   ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู   คำว่า  "ทีปวาลี"  ในภาษาสันสกฤตแปลว่า  "แถวแห่งแสงไฟ"   ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลนี้บ้านเรือนและถนนในย่านลิตเติ้ลอินเดียก็จะประดับตกแต่งด้วยไฟส่องสว่างตลอดค่ำคืน  ถือเป็นการบูชาพระแม่ลักษมี
             สำหรับบ้านเรือนจะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตะเกียง (Kolam) ที่ทำจากเมล็ดข้าวและเมล็ดธัญพืชที่แห้งสนิท และตกแต่งด้วยสีสดใส ให้เป็นรูปดอกไม้ เส้นรูปทรงเลขาคณิต และนกยูง ตามความเชื่อสมัยโบราณเป็นการเชื้อเชิญเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย คือ  พระนางลักษณ์มี  (Mahalakshmi)   จะเสด็จมาจากสวรรค์มาอวยพรสู่ครอบครัวให้เกิดความร่ำรวยตลอดไป
            งานเฉลิมฉลองเทศกาล Deepavali   เพื่อระลึกถึง ประวัติศาตร์ในอดีต ด้วยการจุดไฟตะเกียงน้ำมันที่เรียกว่า (Diyas)  ตามสถานที่สำคัญทางศาสนา วัด จากแสงเทียนและหลอดไฟให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งความหมายของการจุดตะเกียงไฟน้ำมัน เป็นสัญลักษณ์ปลดปล่อยความชั่วร้ายจากจิตใจ และแทนที่ด้วยแสงสว่างจากตะเกียง




ชาวสิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ  แต่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน  โดยส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า



การแต่งกายสิงคโปร์

          สิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐตั้งอยู่บนเกาะเล็กปลายแหลมมาลายู มีพื้น ที่ราว 616 ตาราง กิโลเมตร พลเมืองจะมีหลายชนชาติ เช่น จีน มลายู อินเดีย และยุโรป เพราะเป็นเมืองท่าที่สำคัญ การแต่งกายจึงแตกต่างกับชนชาติที่ตนเข้าไปอยู่

          การแต่งกายของชาวมลายูในสิงคโปร์ เสื้อใช้ลวดลายและดอกคล้ายโสร่งของอินโดนีเซีย แบบอาจจะเพี้ยนไปบ้าง ใช้ผ้าพื้น เข้มทำตัวเสื้อ มีลวดลายตามรอบคอ สาบ และปลายแขน ส่วน ชายแต่งชุดสากล สำหรับชาวจีน อินเดีย ยุโรป ก็แต่งตามการแต่งกายของแต่ละชาติ เอกลักษณ์ของ ชาวสิงคโปร์ไม่มีศิลปะเป็นของตนเอง แต่สิ่งที่ประทับใจที่สำคัญคือ ความเรียบร้อย มีระเบียบ และสะอาดที่สุดในโลกในสายตาของชาวโลก
การแต่งกายของชาวสิงคโปร์ 









ที่มา http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_singapore3.html




Previous
Next Post »